DEV Community

Wasith Theerapattrathamrong
Wasith Theerapattrathamrong

Posted on

2

เอาคอมใส่ตู้เย็นขณะทำงานช่วยระบายความร้อนได้ดีจริงหรอ ?

เอาคอมเข้าตู้เย็น

เป็นการทดลองเล็ก ๆ โดยการเอา MacBook Pro 16" Late 2016 (Intel Core i7-6920HQ @ 2.9 GHz (4 cores)) ไปเข้าตู้เย็นเพราะว่ามันร้อนชนสุดกำลังที่เครื่องจะรับไหว เพราะว่าผมเอาคอมทุกเครื่องที่มีเข้าโครงการ Folding@Home เพื่อช่วยประมวลผลเผื่อหาวิธีรักษาและป้องกัน COVID-19

พอผมรันไว้ที่โต๊ะทำงาน พันลมก็ดังมากเลยคิดเล่น ๆ ว่า ตู้เย็นมันเย็น มันจะช่วยให้คอมเราเย็นขึ้นได้ไหม ผมเลยทำการทดลองโดยการเอาแมคบุ๊คใส่ตู้เย็น โดยสายชาร์จก็ยังเสียบค้างไว้อยู่ โดยที่ไม่ได้เจาะตู้เย็นแต่สายชาร์จวางพาดยางหุ้มประตูออกมาเลย

คอมในตู้เย็น

การทดลอง

สำหรับการทดลอง เราใช้ MacBook เครื่องเดียวกัน กับ 2 ตู้เย็นที่แตกต่างกัน โดยกำการทดลองแบบละ 30 นาที โดยให้ทำงานทั้ง CPU และ GPU

สำหรับงานที่รันเฉพาะ CPU หรือ GPU ไม่ได้รวมอยู่ในบทความนี้

ตู้เย็นแบบธรรมดา

โดยลักษณะการทำงานของคู้เย็นชนิดนี้ จะทำงานก็ต่อเมื่อมีอุณหภูมิที่สูงกว่าที่กำหนด และหยุดทำงานหลังจากอุณภูมิตำกว่าที่กำหนด

ผลคือ ตู้เย็นระบายความร้อนไม่ทัน ในตู้ค่อนข้างร้อน และความร้อนคอมก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิด สิ่งที่เรียกว่า CPU throttling

CPU throttling

เป็นกระบวนการที่ตัว CPU เองจะลด clock speed หรือความเร็ว CPU ลง เพื่อให้ความร้อนลดลง เป็นการรักษา CPU ให้มีอายุนาน หรือป้องกันวงจรไหม้ โดยปกติจะรักษาให้ความร้อนไม่เกิน 100℃

ตู้เย็นแบบ inverter

เป็นตู้เย็นที่จะทำงานตลอดเวลา โดยจะปรับความแรงตามความต้องการระบายความร้อนออก เช่นร้อนมาก ก็จะทำงานเต็มกำลัง เย็นแล้ว ก็จะทำงานเบา ๆ ช้า ๆ

ผลการทดลองของตู้เย็นแบบ inverter คือ ตู้เย็นทำงานเสียงดังตลอดเวลา ในตู้เย็นกว่าอากาศข้างนอก แต่ไม่เย็นแบบตู้เย็นอีกแล้ว

ลองเอาใส่ช่องแข็ง

เนื่องจากเครื่อง MacBook อุณภูมิที่ทำงานได้อยู่ที่ 10-100℃ พออุณหภูมิของเครื่องต่ำมาก ๆ ก็ทำให้เครื่องดับไม่สามารถทำงานต่อได้

หลังเอาออกจากช่องแข็ง

เนื่องจากความเย็นที่ต่างกันมาก อาจทำให้มีไอน้ำมาเกาะเป็นหยดน้ำที่ตัวเครื่องหรือวงจรภายใน ควรเอาแช่ช่องธรรมดาต่อ โดยเปิดให้เครื่องทำงานด้วยเพราะจะได้สร้างความร้อนที่ตัวเครื่อง เพื่อให้อุณหภูมิของเครื่องไม่ต่างกับอุณหภูมิภายนอกมาก เพื่อลดการกลั่นตัวจากไอน้ำเป็นน้ำแล้วมาเกาะที่ตัวเครื่อง ที่เกิดจากอุณหภูมิที่ต่างกันเกิดไปและมีความชื้นในอากาศ ซึ่งอาจทำให้เครื่องช็อตและพังได้

ตารางสรุป

ห้อง ตู้เย็นธรรมดา Inverter ช่องธรรมดา Inverter ช่องแข็ง
CPU's temperature (~℃) 98 98 95 65-75
GPU's temperature (~℃) 90 80 60-75 33-48
Fan speed (~rpm) ~4,000 ~4,000 4,000 1,200
PPD 40,000 38,000 50,000 52,000

Temperature และ fan speed ยิ่งต่ำยิ่งดี

PPD: Point per day (แต้มที่ได้จาก Folding@Home) ยิ่งมากยิ่งดี เพิ่มขึ้นจาก ~ 40,000 แต้มต่อวันเป็น 52,000 ต่อวัน

จะเห็นได้ว่าเอาเข้าตู้เย็นธรรมดา แย่กว่าไว้ในสภาพห้องเสียอีก ส่วนเอาเข้าช่องแข็งก็เครื่องจะดับได้ง่ายเพราะอุณภูมิที่ต่ำเกินไป

ปล. หลังจากเผยแพร่ออกไป จะมีความเห็นเรื่องความชื้นเยอะมาก แต่จะบอกว่าในตู้เย็นความชื้นน้อยมากครับ ในห้องผมวัดได้ 78% 28℃ แต่ในตู้เย็นวัดได้ 35% 2.8℃ ดูหลังจากใส่เครื่องวัดเข้าไปในตู้แล้วเป็นเวลา 60 นาที

ความชื้นในตู้เย็น

เพราะโดยส่วนใหญ่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศใช้พลังส่วนมากในการเอาความชื้นออกไปจากระบบ และส่วนหนึ่งทำให้ระบบเย็นขึ้น

ส่วนความชื้นที่มีในตู้เย็นนั้นมักจะเกิดจากการเปิดฝาตู้เย็น การเปิดตู้เย็นบ่อยเลยทำให้เปลืองไฟ

ส่วนห้องแอร์การปลูกต้นไม้ ซึ่งมีคุณสมบัติในการคายน้ำ ส่งผลให้แอร์ต้องทำงานหนัก และตามมาด้วยค่าไฟที่สูงขึ้น

Quadratic AI

Quadratic AI – The Spreadsheet with AI, Code, and Connections

  • AI-Powered Insights: Ask questions in plain English and get instant visualizations
  • Multi-Language Support: Seamlessly switch between Python, SQL, and JavaScript in one workspace
  • Zero Setup Required: Connect to databases or drag-and-drop files straight from your browser
  • Live Collaboration: Work together in real-time, no matter where your team is located
  • Beyond Formulas: Tackle complex analysis that traditional spreadsheets can't handle

Get started for free.

Watch The Demo 📊✨

Top comments (0)

Image of DataStax

AI Agents Made Easy with Langflow

Connect models, vector stores, memory and other AI building blocks with the click of a button to build and deploy AI-powered agents.

Get started for free

👋 Kindness is contagious

Engage with a wealth of insights in this thoughtful article, valued within the supportive DEV Community. Coders of every background are welcome to join in and add to our collective wisdom.

A sincere "thank you" often brightens someone’s day. Share your gratitude in the comments below!

On DEV, the act of sharing knowledge eases our journey and fortifies our community ties. Found value in this? A quick thank you to the author can make a significant impact.

Okay