DEV Community

Lumin
Lumin

Posted on

1

บันทึกสิ่งที่ได้จากคลาส Facilitate Training 

เทรนวันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2562 โดยพี่อูแห่ง Odd-e ~ เป็นวันที่ตัดสินใจได้ยากมาก แต่ก็มาเรียน

​สิ่งที่คาดหวัง

เราได้ยินคำว่า facilitator ครั้งแรกจากพี่หนุ่มแห่งสยามชำนาญกิจด้วยประโยคประมาณว่า “Scrum master ต้องเป็น facilitator” ดูเท่ห์ดี แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ จนได้มาเจอใน Facebook feed ของพี่อูว่าเค้าจะเปิดคลาส Facilitate Training ก็เลยตัดสินใจลงเรียน เพื่อมาเก็บความหมายของคำว่า Facilitator 

บทสรุปเนื้อหา

The 6 Thumps

เป็นการเอาความรู้เกี่ยวกับสมองมาประยุกต์ใช้ในการทำ facilitate

1. Movement thumps Sitting ~ 
เคลื่อนไหวดีกว่าอยู่เฉยๆ


วิชาการ: การอยู่นิ่งๆไม่ขยับ จะทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่

ประยุกต์: ในชั้นเรียนควรจัดให้พักเบรก เพื่อให้สมองไปพักผ่อน หรือเราอาจจะจัดเนื้อหาเอาสมองมาแทรก เพื่อให้มีช่วงเวลาที่คนเรียนได้พักบ้าง แน่นอนว่ามันเสียเวลา อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าปกติ แต่เราจะสามารถส่งมอบความรู้ได้มากขึ้น

2. Talking thumps Listening ~ พูดคุยดีกว่าฟัง


วิชาการ: โดยปกติคนจะรับข้อมูลได้ไม่ถึง 100% เพราะในช่วงเวลาหนึ่ง สมองมันไม่เคยทำงานแค่เรื่องเดียว การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจะทำให้ช่วยเรื่องการจดจำ และช่วยเพิ่มความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น

ประยุกต์: แทรกกิจกรรม เพื่อให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนความเข้าใจในเนื้อหาของบทเรียน

3. Images thumps Words ~ รูปภาพดีกว่าข้อความ

วิชาการ: โดยปกติ สมองเราเก็บข้อมูลเป็นรูปภาพนะ ... แค่นี้พอไหม

ประยุกต์: อะไรที่ถูกสรุปมาเป็นรูปภาพ หรืออะไรที่เป็นโครงสร้าง เช่น mind map จะทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่าการเอาข้อความมาใส่

4. Writing thumps Reading ~ 
เขียนดีกว่าอ่าน

วิชาการ: สมองจะโฟกัสกับการเขียนมากกว่าการอ่าน

ประยุกต์: แทรกกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเขียนหรือบันทึก หรือควรสังเกตุว่ามีการจดไหม ถ้ามีก็ควรเว้นระยะให้เกิดการจด

5. Shorter thumps Longer 
~ สั้นๆดีกว่านานๆ

วิชาการ: 
สมองทำงานได้ดีในช่วงเวลาสั้นๆ ยิ่งใช้นานยิ่งเปลืองพลังงานและทำให้เหนื่อย


ประยุกต์: เราควรจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นชุดสั้นๆ เพื่อทำให้คนเรียนย่อยข้อมูลได้ง่าย และไม่เหนื่อยกับการเรียนจนเกินไป

6. Difference thumps Same
 ~ แตกต่างดีกว่าเหมือนกัน


วิชาการ: สมองจะไม่สนใจสิ่งที่คล้ายๆกัน และสรุปไปเองว่ามันคืออันเดียวกัน เพราะมันต้องการจะประหยัดพลังงาน

ประยุกต์: ทำเนื้อหาให้คนเรียนสามารถแยกได้ออกว่านี่คือส่วนที่เราเน้น ต้องการให้โฟกัส

The 4Cs Map

เป็นโครงสร้างที่ใช้ในการสร้างและจัดลำดับเนื้อหา

1. Connect ~ การเชื่อมโยงผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหา

การสร้างชั้นเรียนเหมือนเราทำ content ใน Facebook page เราต้องสร้างอะไรสักอย่าง เพื่อดึงคนเรียนเข้าสู่เนื้อหาและชั้นเรียน เชื่อมโยงให้เค้าอยู่ในชั้นเรียน

2. Concept ~ สิ่งที่ต้องการจะส่งมอบ

โดยปกติเมื่อเราสร้างชั้นเรียนขึ้นมา เราจะรู้อยู่แล้วว่าเราต้องการจะส่งมอบความรู้อะไรให้คนเรียน ปัญหาคือเราไม่รู้หรอกว่าคนเรียนต้องการอะไรจากชั้นเรียนนี้ เราต้องหาหนทางที่จะเข้าใจคนเรียน และส่งมอบในสิ่งที่เค้าต้องการ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องยัดทุกอย่างที่เรามีให้เค้า ให้แค่ที่เค้าจำเป็นจะต้องรู้

3. Concrete Practice ~ แบบฝึกหัด

การเรียนรู้ที่ดีต้องมาจากการได้ทดลองทำด้วย ดังนั้นเราควรจะต้องสร้างกิจกรรมให้เกิดการทำลองทำอะไรบางอย่างเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจ

4. Conclusion ~ บทสรุป

ทุกๆการเรียนรู้ น่าจะต้องมีบทสรุป อย่างน้อยเพื่อให้คนเรียนรู้ว่าได้รู้อะไรไปบ้าง ซึ่งจะดีที่สุดถ้าเราสร้างให้เค้าได้รับรู้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่ว่าเราไปสรุปให้เค้า

ซึ่งทั้ง 4 ข้อนี้เป็นเพียงแค่โครงสร้าง เราสามารถเอาไปประยุกต์กับ The 6 Thumps และไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับจาก 1 - 4 สามารถสลับสับเปลี่ยนได้ เอาที่สบายใจและเห็นว่าเหมาะสม

เทคนิคที่จะทำให้คนเรียนจำได้ดีขึ้น

1. Primacy ~ สิ่งแรกที่ได้เจอ

เนื่องจากคนจะจำสิ่งแรกๆได้ง่ายกว่า เราสามารถประยุกต์โดยแบ่งเนื้อหาหลายๆส่วน และแทรกด้วยช่วงพักสมอง เราอาจจะเอาเนื้อหาสำคัญมาไว้ที่ช่วงแรกหลังจากที่พักสมอง เพื่อให้จดจำได้

2. Recency ~ สิ่งสุดท้ายที่ได้เจอ

สิ่งสุดท้ายก็เป็นอะไรที่คนจำง่ายเช่นกัน การแบ่งเนื้อหาหลายๆส่วน ก็อาจจะบอกชัดเจนว่า slide นี้เป็นอันสุดท้ายของช่วงนี้ อาจจะมีสรุป หรือกิจกรรมให้ทำเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาของช่วงที่ผ่านมา

3. Linked ~ สิ่งที่สามารถเชื่อมโยงกับคนเรียนได้

เช่น ทำให้เกิดประสบการณ์ร่วม เราเจอปัญหาเดียวกัน

4. Written ~ เขียน (และวาด)

เพราะการเขียนทำให้สมองได้ทำงานเดิมๆซ้ำกัน (คิด+เขียน+อ่าน)

5. Jolt ~ เหตุการณ์อันน่าจดจำ

การสร้างเหตุการณ์ที่น่าจดจำ จะทำให้จดจำช่วงเวลานั้นๆได้ดีขึ้น

6. 6X6W ~ การทำซ้ำๆเดิมๆหลายๆครั้ง

ควรสร้างกิจกรรมเพื่อให้เกิดการคิดเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนซ้ำๆ โดยพี่อูลองให้คิดจาก 1) ให้ทำอะไร 2) กับใคร 3) ด้วยเครื่องมืออะไร เช่น ให้ เขียนสิ่งที่ตัวเองเข้าใจลง post it, แชร์กับเพื่อนข้างๆว่าเข้าใจอะไร

พี่อูสาธิตโดยให้เรา

  • เขียนกิจกรรมที่เราคิดลง post it (ทำอะไร:เขียนกิจกรรมที่เราคิดได้ ทำกับใคร:ตัวเองไง ด้วยเครื่องมือ:post it)

  • เอาที่เขียนไปแชร์ให้เพื่อนในกลุ่ม (ทำอะไร:แชร์ที่เขียนเมื่อกี้ ทำกับใคร:เพื่อนทุกคนในกลุ่ม ด้วยเครื่องมือ:post it ที่เขียนเมื่อกี้)
  • ให้ในกลุ่มเลือกอันที่ชอบแล้วเอามาสาธิตหน้าห้อง (ทำอะไร:แสดงตัวอย่าง กับใคร:ทั้งห้องเลย เครื่องมือ:บานเลย)

จริงๆแล้วทุกๆกิจกรรมที่จัดในชั้นเรียน มันคือ 6X6W หมดเลย

อะไรบ้างในทฤษฏีด้านบนที่ถูกเอามาใช้ในชั้นเรียนนี้

  • เขียนชื่อ ~ connect
  • ทำความรู้จักกับคนในกลุ่ม ~ connect
  • ทำความรู้จักกับคนกลุ่มอื่น ~ connect
  • เขียนสิ่งที่ต้องการจากชั้นเรียน ~ connect
  • ถามว่าใครที่กำลังจะเปิดคลาสสอน หรือทำ facilitate อยู่ ~ connect + Linked
  • ใช้ slide เป็น หัวข้อและภาพ มีตัวอักษรน้อยมาก ~ 6T(images thumps words)
  • ให้วาดรูปทุกหัวข้อเลย ~ 6T(writing thumps reading, image thumps words) + Written + Jolt
  • มีให้คุยกันตลอด เช่น ให้แชร์ให้เพื่อนฟังว่าเราจะทำอะไร 6T(talking thumps listening)
  • มีโยนมุขกันตลอด เพื่อพักเบรคสมอง 6T(shorter thumps longer)
  • เดินวนดูไอเดียกิจกรรม 6T(movement thumps listening)
  • เขียนและแชร์และเอามาแสดงหน้าห้อง (ขี้เกียจ mapping แล้วว่าคืออะไร)

สิ่งที่ได้

  • ได้รู้ผ่านการอธิบายและวิธีการต่างๆจนเข้าใจ ว่า facilitator คืออะไร
  • เราก็เคยสร้างชั้นเรียนมาแล้ว พอจะรู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควรทำมาบ้าง แต่ไม่เข้าใจหรอกว่าทำไม จนถึงวันนี้ทำให้เข้าใจมากขึ้นว่ามันจำเป็นแค่ไหน
  • ได้โครงสร้างในการจัด slide
  • เราว่า เราจะสนุกกว่าเดิมในการสอนคนอื่น
  • วาดรูป
  • ได้ฟังพี่พล(นั่งข้างๆกัน) สอนวาดรูปโดยอ้างอิงจาก anatomy ของคน (ทำให้อยากได้ iPad กันเลยทีเดียว)

สิ่งที่ไม่เวิร์ค

  • เรามาเรียนตอนที่ไม่ค่อยพร้อมเรื่องเวลา แอบมีกังวลเรื่องงานที่ค้าง และรีบกลับบ้านทันทีที่จบ
  • ไม่ได้อ่าน what's good, improvement, และ action ที่แต่ละคนเขียนลง post it เป็น retro
  • บทความนี้ไม่ได้เขียนตาม The 6 Thumps, The 4Cs Map เลย :D

Image of Timescale

🚀 pgai Vectorizer: SQLAlchemy and LiteLLM Make Vector Search Simple

We built pgai Vectorizer to simplify embedding management for AI applications—without needing a separate database or complex infrastructure. Since launch, developers have created over 3,000 vectorizers on Timescale Cloud, with many more self-hosted.

Read full post →

Top comments (0)

Postmark Image

Speedy emails, satisfied customers

Are delayed transactional emails costing you user satisfaction? Postmark delivers your emails almost instantly, keeping your customers happy and connected.

Sign up