DEV Community

kritcher
kritcher

Posted on

 

ผู้อาวุโส / ผู้มีอาวุโส / อาวุโส

การเรียกคืนสำนวณคดีจากผู้พิพากษาในสมัยก่อน ห้วหน้าศาลสามารถกระทำได้โดยลำพังและเป็นดุลยพินิจ เรียกได้ว่าตามอำเภอใจเลยละครับ ซึ่งทำให้เกิดข้อกังขาว่าห้วหน้าศาลใช้ดุลยพินิจโดยไม่เป็นธรรม เช่น เมื่อผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเห็นว่าผู้พิพากษาท่านที่เป็นองคณะพิจารณาดี มีความความเห็นในการทำคำพิพากษาไม่ตรงกับตน ก็จะอาจสั่งเรียกสำนวนคดีคืนแล้วสั่งโอนคดีให้ผู้พิพากษาท่านอื่นที่เห็นด้วยกับตนทำคำพิพากษาต่อไปได้

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม จึงบัญญัติให้ การเรียกคืนสำนวนคดีจะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่กระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมและผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นที่มิได้เป็นองค์คณะในสำนวนคดีดังกล่าวได้เสนอความเห็นให้กระทำได้

ซึ่งผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น ไม่รวมถึงผู้พิพากษาอาวุโส

ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุด คือผู้พิพากษาที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษามานานที่สุด แต่ยังไม่ครบอายุเกษียณอายุราชการ

ส่วนผู้พิพากษาอาวุโส คือผู้พิพากษาที่มีอายุครบ 60 ปีแล้ว แต่ยังมีศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษา สามารถขอไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลซึ่งไม่สูงกว่าขณะดำรงตำแหน่งได้

จะเห็นว่าในภาษาไทย "อาวุโส" หมายถึง มีอายุแก่กว่าหรือมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่า

ซึ่งเป็นการใช้ที่เพี้ยนไปในทางตรงข้ามกันเลยกับภาษาบาลี ที่ใช้คำว่า "อาวุโส" แปลว่า ท่านผู้มีอายุ ใช้เป็นคำร้องเรียกเป็นคำขึ้นต้นที่จะต้องกล่าวก่อน ก่อนที่จะกล่าวคำอืนๆ ต่อไป ต่อผู้ที่อ่อนพรรษากว่า

ส่วนคำที่ผู้อ่อนพรรษากว่า ใช้กล่าวกับผู้แก่พรรษากว่า จะใช้คำว่า "ภันเต" แปลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญครับ

Top comments (0)

Why You Need to Study Javascript Fundamentals

The harsh reality for JS Developers: If you don't study the fundamentals, you'll be just another “Coder”. Top learnings on how to get to the mid/senior level faster as a JavaScript developer by Dragos Nedelcu.