DEV Community

Cover image for คู่มือการติดตั้งเครื่องมือที่ใช้ในการเรียน The Cloud Camp รอบ Audition
Phisinee Sagulvanitchaporn for Jumpbox

Posted on

คู่มือการติดตั้งเครื่องมือที่ใช้ในการเรียน The Cloud Camp รอบ Audition

อย่างที่รู้กันว่า Jumpbox กำลังเปิดโครงการ "The Cloud Camp" ในรอบ Free หรือที่เรียกว่า "รอบ Audition 3 วัน" เพื่อเตรียมตัวในการเรียนหลักสูตรเข้มข้น 15 สัปดาห์ด้วยเนื้อหาเชิงลึก
ในหลักสูตรของเรามีความจำเป็นอย่างมากที่ผู้เรียนจะต้องสามารถฝึกฝนในการใช้งานเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการเรียนการสอนของเรา เพื่อได้ปฏิบัติจริง โดยเครื่องมือแรกที่เราอยากให้ศึกษาและติดตั้งเป็นสิ่งแรก นั่นก็คือ "Docker" นั่นเอง
ดังนั้น ในบทความนี้ เรามาดูกันเถอะว่า เราจะสามารถติดตั้ง Docker ได้อย่างไรบ้าง

วิธีติดตั้ง Docker Desktop บนคอมพิวเตอร์ที่เป็น Mac

  1. ดาวน์โหลด Docker สำหรับ Mac OS คุณสามารถดาวน์โหลดไฟล์ สำหรับโปรแกรม Docker ได้ที่นี่ link โดยเลือกระหว่าง Mac Intel Chip (Mac OS รุ่นเก่า) หรือ Mac Apple Silicon Chip (Mac OS รุ่นใหม่ Chip M1 ขึ้นไป)

Docker Mac Download

  1. หลังจากดาวน์โหลดตัวติดตั้งแล้ว เราก็เปิดมันขึ้นมา แล้วลาก Docker ไปที่โฟลเดอร์ Applications และนั่นคือ เราติดตั้ง Docker Desktop สำเร็จแล้วตามภาพ

Done

Install Loading

2.1 เราต้องใช้เวลาสักครู่เพื่อให้ Docker desktop เริ่มทำงาน โดยสามารถดูสถานะได้โดยคลิกที่ไอคอนนี้

Docker Status Running

ดังนั้น การใช้งานของ Docker จะเสร็จสมบูรณ์เมื่อ Status ของ Docker Desktop ขึ้นว่า "Docker Desktop is Running"

Docker Status Done

ก็เป็นอันว่า "การติดตั้ง Docker เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว"

วิธีติดตั้ง Docker Desktop บนคอมพิวเตอร์ที่เป็น Windows

ความต้องการขั้นต่ำของระบบ

  • ระบบปฏิบัติการ Windows 10 Pro, Enterprise, หรือ Education อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ต้องเป็นเวอร์ชัน 64 bit เท่านั้น
  • RAM 4GB ขึ้นไป

ขั้นตอนในการติดตั้ง

  • อัพเดท Windows 10 เป็น Version 2004 หรือมากกว่า
  • เปิดใช้งาน WSL 2 Feature on Windows
  • ติดตั้ง Docker Desktop
  • ทดลองใช้งาน Docker ใน Windows 10
  1. เปิดใช้งาน WSL 2 Feature บน Windows 1.1 เปิด PowerShell ด้วยสิทธิ Administrator (หรือ คลิกขวาที่โปรแกรม Powershell แล้วกดเลือก Run as Administration)

Powershell Terminal

รันคำสั่งข้างล่างนี้เพื่อเปิดใช้งาน “Windows Subsystem for Linux” โดยการก๊อปปี้คำสั่งด้านล่างไปวางตรงหน้าต่าง Powershell ที่แสดงขึ้นมา

dism.exe /online /enable-feature /featurename:Microsoft-Windows-Subsystem-Linux /all /norestart

เมื่อกด Enter แล้ว จะแสดงผลดังรูปด้านล่างนี้

Windows Subsystem for Linux

1.2 รันคำสั่งข้างล่างนี้เพื่อเปิดใช้งาน “Virtual Machine Platform”

dism.exe /online /enable-feature /featurename:VirtualMachinePlatform /all /norestart

Virtual Machine Complete

ถ้าสามารถติดตั้งเสร็จเรียบร้อย โปรแกรมจะขึ้นว่า "The operation complete successfully"

1.3 เมื่อเสร็จแล้ว สั่ง Restart Windows 1 ครั้งเพื่อเสร็จสิ้นการติดตั้ง WSL 2

1.4 เปิด Powershell อีกครั้งและรันคำสั่งข้างล่างนี้เพื่อปรับใช้ WSL 2 เป็นค่าเริ่มต้นเมื่อเรามีการติดตั้ง Linux Distribution

wsl --set-default-version 2

1.5 ในกรณีที่เราไม่ได้ Update Windows 10 เป็น Version 2004 จะเจอ Error แบบนี้เนื่องจากยังไม่รองรับ WSL 2

Window 10 WSL Error

1.6 ถ้า Update Windows 10 เป็น Version 2004 แล้วก็จะพบว่าเราจะเจอคำแนะนำให้ Update Linux Kernel เพิ่มเติม โดยอัพเดทได้ตามนี้

ดาวน์โหลด Linux kernel update package

1.7 เมื่อ Update Linux Kernel เสร็จแล้ว ลองเปิด Powershell อีกและรันคำสั่งข้างล่างนี้อีกครั้งเพื่อปรับใช้ WSL 2 เป็นค่าเริ่มต้นเมื่อเรามีการติดตั้ง Linux Distribution

wsl --set-default-version 2

  1. ดาวน์โหลด Docker สำหรับ Windows คุณสามารถดาวน์โหลดไฟล์ สำหรับโปรแกรม Docker ได้ที่นี่ link และกดปุ่มตามภาพด้านล่าง เพื่อทำการ Download program Docker Desktop Installer

Docker installer

2.1 ติดตั้งไฟล์ Docker Desktop Installer.exe

2.2 รัน Setup File ตามขั้นตอนในภาพ

Set up Docker

2.3 เปิด Docker Desktop จาก Start menu
จาก Docker Menu ให้ไปที่ Settings -> General เพื่อตรวจสอบว่า Docker ทำงานอยู่บน WSL 2 หรือไม่

Correct Setup

เมื่อถึงขึ้นตอนนี้ เป็นอันว่า "การติดตั้ง Docker บน Window เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว"

ขั้นตอนทดลองใช้งาน Docker

คราวนี้มาถึงวิธีการเช็คว่า "เราสามารถใช้งาน Docker ได้แล้วจริง ๆ" สามารถใช้ command เช็คได้ทั้งบน Mac OS และ Window OS

โดยการทดลองใช้งาน Docker ใน Windows เพื่อดูว่าใช้งานได้จริงโดยลองรัน command ผ่าน Terminal ของ Powershell จากข้อ 1.1 ด้วยคำสั่งเพื่อใช้ในการเช็ค Docker Version ด้วยคำสั่งตามด้านล่าง

docker --version

ถ้าขึ้นตามภาพด้านล่าง แสดงว่า "ลงได้สำเร็จแล้ว"

Done

หรือของ Mac OS ก็เช่นกัน
ให้เปิด Terminal บน Mac OS แล้วรันคำสั่งเดียวกัน docker --version ถ้าขึ้นตามภาพด้านล่าง แสดงว่า "ลงได้สำเร็จแล้วเช่นกันจ้า"

Terminal Mac

Done

หลังจากการลง Docker อยากให้ทุกท่านได้ตั้งใจเรียน The Cloud Camp รอบ Audition และฝึกทำจริงให้จงได้เลยนะคะ ... ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ :)

Top comments (0)